แผ่นหลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet) คือแผ่นเหล็กรีดลอนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งทำจากแผ่นเหล็กที่ผ่านการเคลือบด้วยอลูมิเนียมและสังกะสี (อลูซิงค์) ช่วยให้แผ่นหลังคามีความแข็งแรงคงทนไม่ผุกร่อนง่าย และช่วยป้องกันสนิมได้ดีกว่าหลังคาเหล็กที่เคลือบสังกะสีเพียงอย่างเดียว ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ทนต่อรอยขีดข่วนและสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้แผ่นหลังคาเมทัลชีทยังมีความสวยงาม มีรูปแบบลอนและสีสันให้เลือกหลากหลาย และยังสามารถติดตั้งกับโครงสร้างแบบเรียบและดัดโค้งได้ รวมถึงการบุฉนวนเพื่อกันความร้อน จึงนิยมนำมาใช้เป็นหลังคาของโรงงานอุตสาหกรรม โกดัง คลังสินค้า อาคารพาณิชย์ อาคารบ้านเรือน ที่จอดรถ และประยุกต์ใช้งานในรูปแบบอื่น ๆ เช่น กันสาด บานเกล็ด ผนัง รั้ว เนื่องจากแผ่นเมทัลชีทเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ทนทานและติดตั้งได้ง่าย อีกทั้งยังมีความสวยงาม มีรูปแบบลอนและสีสันให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ
แผ่นเมทัลชีทเคลือบอลูซิงค์มีระบบป้องกันสนิม 2 ลักษณะ อลูมิเนียมช่วยเป็นเกราะป้องกันการกัดกร่อนที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่าง อากาศ และตัวเนื้อเหล็ก ส่วนสังกะสีช่วยป้องการกัดกร่อนบริเวณขอบตัด และรอยขีดข่วน โดยสารประกอบสังกะสีจะสร้างตัวตรงบริเวณขอบตัดด้วยปฏิกิริยาอิเลคโตรด (electrolytic reaction) และจะสละตัวเองเพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่เนื้อเหล็ก
แผ่นเมทัลชีทเคลือบสีเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับสภาพแวดล้อมและความต้องการที่หลากหลาย เนื่องจากได้รับการออกแบบเป็นพิเศษให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ใช้ในสภาวะที่ต้องการวัสดุที่ทนทานการกัดกร่อนเป็นพิเศษในสภาพแวดล้อมรุนแรงหรือการกัดกร่อนสูง โดยเฉพาะอาคารที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล และบริเวณที่มีการกัดกร่อนจาก สารเคมี กรด หรือด่าง
เมทัลชีทนั้นเป็นแผ่นเหล็กเคลือบด้วยอลูมิเนียม-สังกะสี ทำให้เป็นรอยขีดข่วนได้ยาก อีกทั้งยังไม่เป็นสนิม ทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่แตกหักง่ายเหมือนกระเบื้องหลังคาทั่วไป
แผ่นหลังคาเมทัลชีทมีน้ำหนักไม่มากจนเกินไป จึงสามารถดัดงอได้ตามต้องการ และสามารถตัดตามความยาวของโครงสร้างหลังคาได้โดยไม่ต้องต่อแผ่น จึงไม่เสียเวลาในการติดตั้ง
สามารถเลือกรูปแบบลอนหลังคาเมทัลชีทตามวัตถุประสงค์การใช้งาน และขนาดของแผ่นเมทัลชีทได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นขนาดกว้างยาว ช่วยลดรอยต่อหลังการติดตั้งที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหารั่วซึมได้
แผ่นหลังคาเมทัลชีทช่วยอากาศภายในอาคารเย็นลงได้ เนื่องจากสามารถคลายความร้อนได้ดี และยังสามารถบุฉนวนกันความร้อนเพิ่มได้ ช่วยลดเสียงดังจากเสียงตกกระทบของเม็ดฝนและช่วยประหยัดค่าไฟได้อีกทาง
บริษัท ซี.เอส.ซี อินเตอร์เนชันแนล จำกัด จำหน่ายแผ่นหลังคาเมทัลชีทเกรด A++ จากหลากหลายยี่ห้อ ได้แก่ CSC, BlueScope และ SUNSCO พร้อมด้วยวัสดุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เราสามารถผลิตสินค้าตามขนาดและจำนวนที่ต้องการได้ หากลูกค้ายังไม่มีรายละเอียดสินค้าที่ต้องการ ทางบริษัทก็มีวิศวกรให้บริการวัดพื้นที่หน้างานและออกรายการแผ่นเมทัลชีทตามการใช้งานจริงได้เช่นกัน
แผ่นหลังคาเมทัลชีทคุณภาพสูงนำเข้าวัถุดิบเหล็กคอยล์ เกรด A++ จากต่างประเทศ และผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล
รายละเอียดสินค้า
แผ่นเมทัลชีทระดับพรีเมี่ยมที่ผลิตโดยเทคโนโลยีจากประเทศออสเตรเลีย สวยงามและทนทาน มีให้หลากหลายแบรนด์ตามคุณภาพและการใช้งาน
รายละเอียดสินค้า
แผ่นเมทัลชีทคุณภาพสูงโดยบริษัท Maruichi ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีเฉพาะจากประเทศญี่ปุ่น มีความแข็งแรงทนทาน สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย
รายละเอียดสินค้า
แผ่นฉนวนกันความร้อน นิยมติดตั้งไว้ใต้แผ่นหลังคาเมทัลชีท ผลิตจากพลาสติกโพลีเอทิลีนผสานกับแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ ติดตั้งง่าย เข้ากับลอนหลังคาได้พอดี
รายละเอียดสินค้า
แผ่นหลังคาแบบใสและแบบขุ่นที่ให้แสงสว่างธรรมชาติเข้าสู่อาคาร และยังช่วยป้องกันรังสี UV เป็นส่วนประกอบหนึ่งของการมุงหลังคาด้วยแผ่นเมทัลชีท
รายละเอียดสินค้า
แผ่นหลังคาเมทัลชีทที่มีการดัดให้มีลักษณะโค้งงอ เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ช่วยให้อาคารสิ่งปลูกสร้างมีความสวยงามทันสมัย และดูมีเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น
รายละเอียดสินค้า
แผ่นบานเกล็ดระบายอากาศผลิตจากเหล็กเมทัลชีทชนิดเรียบ ใช้สำหรับติดตั้งที่ผนังอาคาร เพื่อให้อากาศมีการถ่ายเทได้ดีและป้องกันฝนสาดได้อีกด้วย
รายละเอียดสินค้า
แผ่นเมทัลชีทแบบเรียบที่มีการดัดและพับให้เป็นรูปร่างที่เหมาะสม ใช้สำหรับปิดรอยต่อ สัน ขอบ เพื่อกันน้ำซึมเข้าสู่รอยต่อหลังคา และตกแต่งเพื่อความสวยงาม
รายละเอียดสินค้า
สำหรับลูกค้าที่สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เมทัลชีท ทางบริษัทมีทีมวิศวกรไปตรวจสอบหน้างาน เพื่อดูโครงสร้างเบื้องต้นว่าสามารถติดตั้งหลังคาเมทัลชีทได้หรือไม่ พร้อมให้คำปรึกษาในการแก้ไขโครงสร้างเบื้องต้น และออกแบบ ติดตั้งได้รวดเร็ว ไม่ผิดพลาด
เนื่องจากแผ่นหลังคาเมทัลชีทมีรูปแบบลอนหลายแบบทั้งลอนสูง ลอนเตี้ย นอกจากการเลือกลอนที่สวยงามแล้วเข้ากับสไตล์ของบ้านหรืออาคารแล้ว การเลือกรูปแบบลอนยังต้องคำนึงถึงความลาดชันของหลังคา หากเลือกลอนได้ไม่เหมาะสมกับความลาดชันก็อาจเกิดปัญหาหลังคารั่วจากการระบายน้ำไม่ทันตามมาได้
ความหนาของแผ่นหลังคาเมทัลชีทเป็นอีกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเพราะความหนาแต่ละขนาดจะส่งผลต่อการใช้งานที่แตกต่างกัน หากมีความหนามากก็จะยิ่งแข็งแรง ทนทานมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามควรเลือกใช้แผ่นเมทัลชีทที่มีความหนาเหมาะสมกับระยะแปหลังคา
เนื่องจากแผ่นเมทัลชีทผลิตจากเหล็กคุณภาพสูงเคลือบด้วยสังกะสีและอลูมิเนียมจึงมีความแข็งแรง ทนทานกว่าการเคลือบด้วยสังกะสีธรรมดาถึง 4 เท่า ดังนั้นจึงควรเลือกแผ่นเมทัลชีทที่มีปริมาณมวลสารเคลือบสังกะสีและอลูมิเนียมอย่างน้อย AZ70 หรือ 70 กรัม/ตร.ม. โดยตัวเลขที่อยู่หลัง AZ นั้น เป็นตัวบ่งบอกปริมาณของสารเคลือบหากตัวเลขสูงก็หมายถึงสารเคลือบปริมาณมากซึ่งจะส่งผลต่อความทนทานต่อการกัดกร่อนได้มากยิ่งขึ้น
ควรติดตั้งหลังคาเมทัลชีทที่มีฉนวนกันความร้อน ไม่ว่าจะเป็นฉนวนที่มาพร้อมกันแผ่นเมทัลชีท โฟม PU แบบฉีดพ่นและแบบแผ่นวางใต้ฝ้าเพดาน หรือเลือกใช้หลายแบบผสมผสานกัน ก็เป็นตัวช่วยให้อาคารมีอุณหภูมิลดลง และช่วยลดเสียงรบกวนจากภาพนอกได้ โดยควรเลือกฉนวนกันความร้อนที่มีค่า R (Resistivity) หรือค่าความต้านทานความร้อน โดยเลือกฉนวนที่มีเลขค่าความต้านทานสูง และเลือกค่า K (K-value) หรือค่านำความร้อน โดยเลือกตัวเลขต่ำเพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน
นอกจากใช้ฉนวนกันความร้อนแล้ว ควรเลือกใช้แผ่นเมทัลชีทเคลือบสีเพื่อป้องกันความร้อน เพราะนอกจากแผ่นหลังคาเคลือบสีจะส่งผลต่อภาพลักษณ์และความสวยงามของอาคารแล้ว ยังช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคารได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากนวัตกรรมในปัจจุบันส่งผลให้สีมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนจึงช่วยให้ความร้อนเข้าสู่อาคารได้ยากขึ้นอีกทั้งช่วยลดเสียงรบกวนภายนอกหรือจากฝนตกได้อีกด้วย
1. ติดตั้งแผ่นหลังคาเมทัลชีลแผ่นแรก โดยให้ลอนตัวเมียติดอยู่หน้าจั่ว แล้วให้ปลายแผ่นยื่นล้ำไปในแนวรางน้ำ ให้ยาวเหมาะสมกับรางน้ำ
2. ยึดสกรูทุก ๆ สันลอนบริเวณแปปลายและแปเดี่ยว ส่วนแปกลางให้ยึดลอนเว้นลอน
3. นำแผ่นหลังคาแผ่นที่สองวางให้ลอนตัวเมียซ้อนทับลอนตัวผู้ของแผ่นแรก
4. ใช้คีมหนีบบริเวณซ้อนทับแผ่นเพื่อความแนบแน่นในการยึดสกรูทั้งหัวและท้ายแผ่น
5. ทำการยึดสกรูบริเวณซ้อนทับทุก ๆ สันลอน
6. ควรเช็คแนวระดับทุก ๆ ระยะการติดตั้งแผ่นหลังคาไปได้ประมาณ 10 แผ่น
1. การใช้อุปกรณ์พับขึ้น พับปลายแผ่นหลังคาทั้งสองข้าง
2. ติดตั้งแผ่นครอบจั่วแผ่นแรก โดยวางตำแหน่งให้ในแนวระดับ
3. ใช้เครื่องมือตัดปลายหรือใช้กรรไกรตัดเหล็กบากด้านข้างแผ่นปิดครอบ ให้ได้รูปลอนตัดตามสันลอนหลังคา
4. ยึดสกรูบริเวณสันลอนเว้นลอน
5. ตัดเศษวัสดุที่ยื่นล้ำออกมาให้สวยงาม
1. ทำความสะอาดบริเวณที่จะซีลให้สะอาดเสียก่อน
2. ซีลซิลโคนตามแนวซ้อนทับให้ทั่วทั้งแผ่นล่างและแผ่นบน
3. ยึดสกรูบริเวณซ้อนทับ
1. เริ่มติดตั้งแผ่นปิดครอบข้างจากปลายแผ่น โดยยึดสกรูทุกระยะ 50 ซม.
2. ยึดสกรูแผ่นปิดครอบมุมทุกระยะ 50 ซม.
3. วางแผ่นที่สองซ้อนกับแผ่นแรกโดยให้เหลื่อมกับแผ่นแรกอย่างต่ำ 10 ซม.
4. ยึดสกรูบริเวณซ้อนทับ และบริเวณแผ่นปิดครอบที่ทำมุมกัน
1. วิธีการติดตั้งผนังคล้ายกับหลังคา แตกต่างกันที่ตำแหน่งยึดสกรู
2. ติดตั้งแผ่นผนังแผ่นแรก และเช็คตำแหน่งยึดสกรู
3. นำแผ่นที่สองมาวางซ้อนกันโดยใช้คีมหนีบหัวท้าย พร้อมกับยึดสกรูบริเวณแปปลาย และแปเดี่ยวทุก ๆ ท้องลอน และแปกลางลอนเว้นลอน
4. ติดตั้งแผ่นต่อ ๆ ไปเช่นเดียวกับการติดตั้งแผ่นที่สอง